วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

บทความเกี่ยวกับเทคโนโลยีชาวบ้าน
สร้างบ้านจากอิฐโฟม
โฟม เป็นวัตถุสังเคราะห์ที่ย่อยสลายได้ยากและเป็นมลพิษเมื่อเผาและทำลายจึงได้เกิดแนวคิดในการนำโฟมที่แล้วกลับมาใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ อิฐโฟมซีเมนต์ จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการนำโฟมกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง ในอดีตจะเห็นได้ว่า การก่อสร้างอาคารบ้านเรือนนั้นจะทำมาจากไม้ ที่มีอยู่ ในธรรมชาติ แต่ในปัจจุบันทรัพยากรป่าไม้เหล่านั้นก็เริ่มลดน้อยลงไป ประกอบกับ การขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง จึงได้มีการผลิตอุปกรณ์ในการก่อสร้างขึ้นมาทดแทนป่าไม้ที่เหลือน้อย ซึ่งอิฐบล็อกซีเมนต์ก็เป็นวัสดุก่อสร้างอีกประเภทหนึ่งที่มีความจำเป็นในการก่อสร้าง เพราะอิฐบล็อกซีเมนต์เป็นส่วนประกอบของอาคารบ้านเรือนที่ใช้ทำกำแพงหรือผนัง เป็นต้น โดยวัตถุดิบที่นำมาผลิตนั้นมี หิน ดิน หินเกล็ด และวัสดุสังเคราะห์ที่นำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตอิฐบล็อกก็มี ปูนซีเมนต์ นอกจากนี้ยังมีวัสดุสังเคราะห์อื่นที่น่าจะนำมาเป็นส่วนผสมอิฐบล็อกซีเมนต์ได้ โฟม ก็เป็นอีกวัสดุสังเคราะห์อีกประเภทหนึ่งที่เป็นวัสดุเหลือใช้ในชีวิตประจำวัน ที่สามารถจะนำมาเป็นส่วนผสมเพิ่มในการผลิตอิฐบล็อกซีเมนต์ที่มีอยู่เดิม ซึ่งจะทำให้ได้อิฐโฟมซีเมนต์ อิฐโฟมซีเมนต์จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการเลือกนำมาเป็นวัสดุก่อสร้าง และ การลดขยะโฟมที่มีอยู่ในท้องถิ่นให้น้อยลงซึ่งคุณสมบัติของอิฐโฟมซีเมนต์ประการหนึ่งคือ มีน้ำหนักเบาและสามารถขนย้ายได้สะดวก ส่วนข้อเสียของอิฐโฟม คือ ใช้เวลามากในการผลิตจึงไม่เหมาะสมที่จะนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เพราะการใช้เวลาในการผลิตมากจะส่งผลให้ต้นทุนมากไปด้วย จากข้อมูลดังกล่าว จึงได้มีการคิดพัฒนาและประดิษฐ์เครื่องอัดอิฐโฟมซีเมนต์โดยการออกแบบบล็อก ที่ทำให้อิฐโฟมซีเมนต์แข็งตัวเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เครื่องอัดอิฐโฟมซีเมนต์มีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่สามารถผลิตอิฐโฟมซีเมนต์ในเวลาที่น้อย และได้อิฐโฟมซีเมนต์ ที่มีน้ำหนักเบา สามารถนำมาสร้างผนังที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากได้ เพราะฉะนั้นจะทำให้เราสามารถลดต้นทุนในการผลิต และสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ จากการคิดประดิษฐ์เครื่องอัดอิฐโฟมซีเมนต์ ที่ใช้เวลาน้อยในการผลิตก้อนอิฐโฟมซีเมนต์ และได้ก้อนอิฐที่มีน้ำหนักเบา รับแรงอัดได้มาก จึงนับได้ว่าเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับท้องถิ่นนั้นๆ และจากต้นทุนในการสร้างเครื่องอัดอิฐโฟมซีเมนต์ ที่ไม่มาก จึงทำให้ในแต่ละครัวเรือนสามารถสร้างเครื่องอัดอิฐโฟมซีเมนต์ขึ้นมาใช้ได้เอง เพื่อนำอิฐโฟมซีเมนต์ มาสร้างผนังของบ้านในส่วนที่ไม่ต้องรับน้ำหนักมากนัก ซึ่งเป็นวิถีทางของเศรษฐกิจแบบพอเพียงนั่นเอง
ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในอาคารปฏิบัติการศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม

ปัจจุบันอาคารศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม สถาบันวิจัยและพัฒนา ได้ทำการติดตั้งระบบการประหยัดพลังงานภายในอาคาร ดังนี้

1. ระบบไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในอาคาร
ระบบพลังงานแสงอาทิตย์ในอาคารศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม เป็นการนำเอาพลังงานจากแสงอาทิตย์มาใช้ทดแทนพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเป็นการประหยัดพลังงานอีกวิธีหนึ่ง และช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าสาธารณูปโภคแก่มหาวิทยาลัย หลักการทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์จะเกิดขึ้นเมื่อมีแสงอาทิตย์มาตกกระทบเซลล์แสงอาทิตย์ จะเกิดการสร้างพาหะนำไฟฟ้าประจุบวกขึ้น ได้แก่ อิเล็กตรอนและโฮล โครงสร้างรอยต่อพีเอ็นจะทำหน้าที่สร้างสนามไฟฟ้าขึ้นภายในเซลล์ เพื่อแยกพาหะนำไฟฟ้าชนิดอิเล็กตรอนไปที่ขั้วลบ และพาหะนำไฟฟ้าโฮลไปที่ขั้วบวก ทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าที่ขั้วไฟฟ้าทั้งสอง เมื่อต่อให้ครบวงจรจะเกิดกระแสไฟฟ้าไหลขึ้น

การปฏิบัติ


รูปแสดงการติดตั้งแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม


รูปแสดงระบบควบคุมไฟฟ้าแสงอาทิตย์ ศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม

ระบบพลังงานไฟฟ้าแสงอาทิตย์ในอาคารศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ประกอบด้วย
1. 1 ระบบไฟฟ้ากระแสตรง 24 โวลต์ คือ การนำเอาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 65 โวลต์ มาผ่านเครื่องเก็บประจุ 24 โวลต์ ได้ไฟฟ้ากระแสตรง 24 โวลต์ จากนั้นนำไปผ่านเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า 24 โวลต์ ได้กระแสไฟฟ้าสลับ 220 โวลต์ กำลังไฟฟ้าทั้งสิ้น 500 วัตต์ นำไปใช้กับหลอดแสงสว่าง (หลอดละ 18 วัตต์) รอบอาคารศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม ดังนั้นระบบนี้สามารถใช้กับหลอดแสงสว่างได้ ประมาณ 28 หลอด


รูปแสดงการติดตั้งหลอดแสงสว่างรอบอาคารศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม

1.2 ระบบไฟฟ้ากระแสตรง 12 โวลต์ คือ การนำเอาพลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ 65 โวลต์ มาผ่านเครื่องเก็บประจุ 12 โวลต์ ได้ไฟฟ้ากระแสตรง 12โวลต์ นำไปใช้ระบบไฟฟ้าจราจร ซึ่งติดตั้งตรงสี่แยกข้างศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม จำนวน 4 โคม


รูปแสดงการติดตั้งไฟฟ้าจราจรศูนย์เทคโนโลยีที่เหมาะสม